วันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยสุโขทัย

การปกครองสมัยสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัยเมื่อแรกตั้งเป็นอาณาจักรเล็กๆสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดคือสมัยพ่อขุนรามคำแหง มหาราช
มีอาณาเขตทิศเหนือจรดเมืองลำพูน ทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดเทือกเขาดงพญาเย็น และภูเขาพนมดงรัก
ทิศตะวันตกจรดเมืองหงศาวดี ทางใต้จรดแหลมมลายู มีกษัตริย์ปกครองเป็นเอกราชติดต่อกันมา 6 พระองค์
อาณาจักรสุโขทัย เสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาเมื่อสมัยพญาไสลือไท โดยทำสงครามปราชัย
แก่ พระบรมราชาที่ 1 แห่งกรุงศรีอยุธยาในปีพ.ศ.1921 และราชวงศ์พระร่วงยังคงปกครองในฐานะประเทศ
ราชติตต่อกันมาอีก 2 พระองค์ จนสิ้นราชวงศ์ พ.ศ.1981

ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย

ลักษณะการปกครองของสมัยสุโขทัย เป็นการปกครองแบบบิดาปกครองบุตรหรือการปกครองคนใน
ครอบครัว (Paternalism) คือพระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพ่อหรือข้าราชการบริพารเปรียบเสมือนลูกหรือคนใน
ครอบครัวทำการปกครองลดหลั่นกันไปตามลำดับ ศาสตราจารย์ James N. Mosel ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับ
การปกครองของไทยในสมัยกรุงสุโขทัยไว้ว่ามีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ มีลักษณะเป็นการปกครองแบบพ่อ
ปกครองลูกกับการดำเนินการปกครองแบบหัวเมืองขึ้น มีลักษณะคล้ายเจ้าผู้ครองนครกับยังได้ย้ำว่า การปก
ครองแบบหัวเมือง หรือเจ้าผู้ครองของไทย แตกต่างกับระบบเจ้าผู้ครองนครของยุโรปอย่างไรก็ดี สำหรับการ
ปกครองแบบบิดากับบุตรนี้ในปาฐกถาของ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่องลักษณะการปกครองประ
เทศสยาม แต่โบราณได้อธิบายไว้ว่าวิธีการปกครองในสมัยสุโขทัยนั้น นับถือพระเจ้าแผ่นดินอย่างบิดาของ
ประชาชนทั้งปวงวิธีการปกครองเอาลักษณะการปกครองสกุลมาเป็นคติ เป็นต้น บิดาปกครองครัวเรือนหลาย
ครัวเรือนรวมกันเป็นบ้านอยู่ในปกครองของพ่อบ้าน ผู้อยู่ในปกครอง เรียกว่า ลูกบ้าน หลายบ้านรวมกันเป็น
เมืองถ้าเป็นเมืองขึ้นอยู่ในความปกครองของพ่อเมือง ถ้าเป็นประเทศราชเจ้าเมืองเป็นขุนหลายเมืองรวมกัน
เป็นประเทศที่อยู่ในความปกครองของพ่อขุน ข้าราชการในตำแหน่งต่าง ๆ เรียกว่าลูกขุน วิธีการปกครองของ
ไทยเป็นอย่างบิดาปกครองบุตรยังใช้หลักในการปกครองประเทศไทยมา จนเปลี่ยนแปลงการปกครอง คำว่า
ปกครองแบบพ่อปกครองลูกนี้มีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อจิตใจของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง พระเจ้าแผ่นดิน
สมัยสุโขทัยตอนต้น ประชาชนมักใช้คำแทนตัวท่านว่าพ่อขุน จนเมื่ออิทธิพลของขอมเข้ามาแทรกแซงก็ได้
เปลี่ยนไปใช้คำว่าพระยาเสียทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกษัตริย์ ซึ่งเดิมเปรียบเสมือนพ่อกับลูก
ได้กลายสภาพเป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายไป
การปกครองระบบบิดากับบุตรนี้พระมหากษัตริย์ในฐานะบิดา ทรงมีพระราชอำนาจเด็ดขาดถ้าได้
พิจารณาถ่องแท้แล้วก็จะเห็นว่าถ้าผู้ปกครองประเทศคือ พระมหากษัตริย์ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมให้ความร่ม
เย็นเป็นสุขแก่ราษฎรเสมือนหนึ่งบุตรประชาชนก็ย่อมจะได้รับความผาสุกแต่ถ้าการปกครองดังกล่าวมีลักษณะ
เป็นข้ากับเจ้าบ่าวกับนายสวัสดิภาพของประชาชนในสมัยนั้นก็น่าจะไม่มีความหมายอะไร อย่างไรก็ดีการที่จะ
ใช้ระบบการปกครองอย่างใดจึงเหมาะสมนั้นนอกจากขึ้นอยู่กับภาวะการณ์ต่างๆในแต่ละสมัยแล้วการเลือกใช้
วิธีการปกครองระบบบิดากับบุตรในสมัยนั้นน่าจะถือเอาการปกครองประเทศเป็นนโยบายสำคัญ
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น ความสำเร็จบรรลุอุดมการณ์ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลง
หลายประการ ตราบใดที่ประชาชนในยุคประชาธิปไตยยังรำลึกว่าตนอยู่ในฐานะบุตรที่ผู้ปกครองในฐานะบิดา
จะต้องโอบอุ้มตลอดไปบุตรคือประชาชนก็จะขาดความรับผิดชอบละขาดความสำนึกในทางการเมืองที่จะปลูก
ฝังและเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยได้เช่นกัน หากผู้ปกครองต้องอยู่ในฐานะบิดาที่คอยโอบอุ้มและกำหนด
ความต้องการของประชาชนในฐานะบุตรแล้ว ความเป็นประชาธิปไตยที่จะให้บรรลุอุดมการณ์แท้จริงก็เป็นสิ่ง
ที่หวังได้โดยยาก


แบบทดสอบการปกครองสมัยสุโขทัย

คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด

1. อาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองที่สุดในสมัยของกษัตริย์พระองค์ใด

ก. พ่อขุนเม็งราย
ข. พ่อขุนบางกลางหาว
ค. พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ง. พ่อขุนบานเมือง
2. เมืองหน้าด่านที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสุโขทัยคือเมืองใด

ก. เมืองศรีสัชนาลัย
ข. เมืองสองแคว
ค. เมืองสระหลวง
ง. เมืองนครชุม
3. เมืองในข้อใดที่มีหน้าที่รวบรวมกำลังคนและเตรียมสะเบียงอาหารยามมีศึกสงคราม

ก. เมืองพระยามหานคร
ข. เมืองลูกหลวง
ค. เมืองประเทศราช
ง. เมืองราชธานี

4. เมืองที่ใช้เวลาเดินเท้า 2 วัน มีความสำคัญด้านยุทธศาสตร์ กษัตริย์ส่งพระบรมวงศานุวงไปปกครองคือเมืองใด

ก. เมืองพระยามหานคร
ข. เมืองลูกหลวง
ค. เมืองประเทศราช
ง. เมืองราชธานี

5. สมัยสุโขทัยมีการปกครองแบบใด

ก. ประชาธิปไตย
ข. สมมติเทพ
ค. สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ง. คอมมิวนิสต์

6. การลงโทษในข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่ปรากฎในสมัยสุโขทัย

ก. การเฆี่ยน
ข. กักขับ
ค. กักขัง
ง. การประหารชีวิต

7. พ่อขุนรามคำแหงมหาราชนำพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นศาสนาประจำชาติเพราะเหตุใด

ก. เห็นว่าไม่ค่อยมีผู้ให้การนับถือ
ข. เห็นว่าเป็นความเชื่อที่มีเหตุผลไม่งมงาย
ค. เห็นว่าประชาชนเป็นคนไม่ดี ควรมีศาสนาไว้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว
ง. เห็นว่าเป็นศาสนาที่เจริญรุ่งเรือง ถ้านำมานับถือจะทำให้อาณาจักรเจริญรุ่งเรือง

8. กฎหมายในข้อใดต่อไปนี้ที่มีการจารึกไว้ในหลักศิลาจารึก

ก. กฎหมายมรดก
ข. กฎหมายภาษี
ค. กฎหมายร้องทุกข์
ง. ถูกทุกข้อ

9. ข้อความในหลักศิลาจารึกที่ว่า ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว แสดงให้เห็นว่าสุโขทัยมีลักษณะอย่างไร

ก. ข้าวยากหมากแพง
ข. อดอยาก ขาดแคลนอาหาร
ค. ยากจน
ง. อุดมสมบูรณ์

10. อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาในสมัยของกษัตริย์พระองค์ใด

ก. พญาไสลือไทย
ข. พญาลิไท
ค. พญาลือไท
ง. สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น