วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554



กฎหมายหลักที่ใช้ปกครองประเทศ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
ประเทศไทยแต่เดิมนั้น อำนาจในการปกครองแผ่นดินเป็นสิทธิขาดของพระมหากษัตริย์แต่พระองค์เดียว หรือที่เรียกว่าระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ต่อมาเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ได้มีกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า “คณะราษฎร” ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ นับแต่นั้นมารัฐธรรมนูญกลายเป็นหลักสำคัญในการปกครองประเทศ แม้จะมีการยกเลิกหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงหลายครั้งตามสภาวะการณ์ของบ้านเมือง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 ของไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ลักษณะทั่วไปของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศและถือเป็นแม่บทของกฎหมายต่างๆ ถ้ากฎหมาย ใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญกฎหมายนั้นจะใช้บังคับไม่ได้เมื่อกล่าวถึงรัฐธรรมนูญจะเกี่ยวข้องกับเรื่องรูปแบบการปกครอง ประมุขของประเทศ อำนาจอธิปไตย และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทยคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กำหนดรูปแบบให้ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว ไม่ใช้เป็นสหพันธรัฐ สาธารณรัฐ หรือสมาพันธรัฐให้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจสูงสุดของรัฐแบ่งเป็น 3 ส่วนคืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ อำนาจอธิปไตยดังกล่าวเป็นของปวงชนชาวไทย โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตย กล่าวคือ ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตี และอำนาจตุลาการผ่านทางศาล นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังมีบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเสมอภาคกัน
หลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
หลักการของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ
1. ให้ความคุ้มครองศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ตลอดจนเพิ่มสิทธิและเสรีภาพใหม่ ให้แก่ประชาชน
2. ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ สามารถถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเสนอกฎหมายได้
3. ปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ และสร้างองค์กรเพื่อควบคุม ตรวจสอบ และถ่วงดุลการใช้อำนาจ
สิทธิและเสรีภาพและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
สิทธิ (Right) หมายถึง ประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้
เสรีภาพ (Liberty) หมายถึง ความมีอิสระที่จะกระทำหรืองดเว้นกระทำการ ถ้าเสรีภาพใดมีกฎหมายรองรับ เสรีภาพก็อาจกลายเป็นสิทธิได้ จึงมักเรียกรวม ๆ กันว่า สิทธิและเสรีภาพ
หน้าที่ (Obligation) หมายถึง สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้กระทำหรืองดเว้นกระทำ เมื่อมีสิทธิแล้วจะมีหน้าที่ควบคู่ไปด้วยเสมอ
สิทธิและเสรีภาพของพลเมืองไทย
1. สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เช่น ห้ามทรมาน ทารุนกรรม หรือลงโทษด้วยวิธีโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรม
2. สิทธิในครอบครัวและความเป็นอยู่ส่วนตัว รัฐธรรมนูญห้ามกล่าวหรือเผยแพร่ข้อความ หรือภาพไปสู่สาธารชน ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นอยู่ส่วนตัว เช่น แอบถ่ายภาพผู้อื่นขณะอยู่ในบ้านแล้วนำไปพิมพ์จำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
3. เสรีภาพในเคหสถาน บ้านเป็นสถานที่อยู่อาศัยสามารถอยู่อย่างสงบสุข ปราศจากสิ่งใด ๆ มารบกวน แม้แต่อำนาจของรัฐ ผู้อื่นจะเข้าไปภายในบ้านโดยผู้อาศัยในบ้านไม่ยินยอมไม่ได้
4. เสรีภาพในการเดินทาง และเลือกถิ่นที่อยู่ ประชาชนมีสิทธิเดินทางไปที่ใด หรือตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ใดในราชอาณาจักรก็ได้ และจะเนรเทศผู้มีสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร หรือห้ามผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ได้ อย่างไรก็ดีอาจออกกฎหมายเฉพาะจำกัดเสรีภาพนี้
5. เสรีภาพในการสื่อสาร รัฐธรรมนูญคุ้มครองการติดต่อสื่อสารถึงกันโดยที่คนอื่นไม่อาจล่วงรู้ข้อความได้ ดังนั้นจึงห้ามตรวจ กัก เปิดเผยสิ่งสื่อสารที่มีผู้ติดต่อถึงกันหรือทำวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้รู้ข้อความ เช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐจะอ่านจดหมายที่ประชาชนส่งถึงกันหรือดักฟังโทรศัพท์ไม่ได้ เว้นแต่มีกฎหมายเฉพาะอนุญาตให้ทำได้
6. เสรีภาพในการถือศาสนา พลเมืองไทยมีเสรีภาพที่จะนับถือศาสนาใดก็ได้ แม้เป็นเพียงนิกาย หรือลัทธินิยมในทางศาสนา
7. สิทธิในการไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน รัฐธรรมนูญห้ามเกณฑ์แรงงานประชาชนไปขุดคลองหรือก่อสร้าง เว้นแต่มีกฎหมายเฉพาะให้อำนาจไว้ เช่น ป้องกันภัยพิบัติสาธารณะที่เกิดขึ้นอย่างฉุกเฉิน หรือประเทศอยู่ในภาวะสงคราม
8. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าโดยการพูด หรือการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
9. เสรีภาพในทางวิชาการ รัฐธรรมนูญส่งเสริมทางทำงานวิชาการโดยคุ้มครองการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย หรือการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองดีหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
10. เสรีภาพในการชุมชน การชุมนุมที่กระทำได้ต้องเป็นการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธ
11. เสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม ประชาชนสามารถรวมกลุ่มกันได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการเช่น รวมตัวกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ กลุ่มเกษตรกร องค์กรเอกชนหรือหมู่คณะอื่น ๆ
12. เสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง การรวมกลุ่มของประชาชนที่มีความคิดเห็นทางการเมืองตรงกัน อาจออกมาในรูปของการจัดตั้งพรรคการเมือง เพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันและดำเนินกิจการทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้น
13. สิทธิต่อต้านการยึดอำนาจ การธำรงรักษาไว้ซึ่งประชาธิปไตย อาจต้องใช้วิธีต่อต้านการยึดอำนาจในการปกครองประเทศด้วยวิธีการที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญ เช่น การใช้กำลังปฏิวัติรัฐประหาร รัฐธรรมนูญกำหนดว่าการต่อต้านต้องทำโดยสันติวิธี
14. สิทธิในทรัพย์สิน มนุษย์จำเป็นต้องหาทรัพย์สินเงินทอง และเก็บไว้เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของตน หากทรัพย์ที่อุตส่าห์หามาได้ด้วยความเหนื่อยยาก ต้องถูกผู้อื่นฉกฉวยเอาไป ย่อมไม่เป็นธรรมต่อเขา รัฐธรรมนูญจึงคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สิน และการตกทอดของทรัพย์สินไปยังทายาท
15. เสรีภาพในการประกอบอาชีพ บุคคลสามารถประกอบกิจการ หรือประกอบอาชีพใดก็ได้โดยมีกติกาคือให้แข่งขันกันโดยเสรีและเป็นธรรม เสรีภาพดังกล่าวอาจถูกจำกัดหากมีกฎหมายเฉพาะให้ทำได้ เช่น ไปประกอบอาชีพที่ทำลายสิ่งแวดล้อม หรือความมั่นคงหรือเศรษฐกิจของประเทศเป็นต้น
16. สิทธิในการได้รับการศึกษา ประชาชนมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี รัฐบาลต้องจัดให้มีโรงเรียนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายจากผู้เรียน นอกจากนี้การจัดการศึกษาต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือเอกชนมีส่วนร่วมด้วย
17. สิทธิที่จะได้รับบริการทางสาธารณสุข ประชาชนมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลที่ได้มาตรฐาน การบริการสาธารณสุขของรัฐต้องทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้คนยากจนมีสิทธิได้รับบริการรักษาพยาบาลจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
18. สิทธิในการมีส่วนร่วมคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การดูแลสิ่งแวดล้อมให้ได้ผลจำต้องอาศัยความร่วมมือของประชาชน รัฐธรรมนูญให้โอกาสประชาชนสามารถมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการบำรุงรักษา และได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งการคุ้มครอง ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
19. สิทธิในฐานะเป็นผู้บริโภค เพื่อให้ประชาชนได้บริโภค หรือใช้สินค้าที่ปลอดภัยมีคุณภาพ และไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้า รัฐธรรมนูญจึงคุ้มครองประชาชนในฐานะผู้บริโภค รวมทั้งให้สร้างองค์กรอิสระที่เป็นตัวแทนผู้บริโภค
20. สิทธิในการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร การที่ประชาชนจะติดตาม ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างได้ผลนั้นประชาชนต้องมีข้อมูลที่ครบถ้วนข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยต่อสารธรณชนและประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้
21. สิทธิเกี่ยวกับการกระทำทางการปกครอง ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ การออกคำสั่งหรือการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อาจกระทบต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ รัฐธรรมนูญจึงกำหนดให้บุคคลนั้นมีสิทธิ มีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่รัฐ เมื่อมีการปฏิบัติราชการทางปกครอง มีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ๆ อ่านต่อ
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและ ยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ แผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๕" มาตรา ๒* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป *[รก. ๒๕๓๔/๑๕๖/๑พ/๔ กันยายน ๒๕๓๔] มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ (๒) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๑๐ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ (๓) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ พ.ศ. ๒๕๑๗ (๔) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๗ (๕) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๑๗ (๖) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๙ (๗) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๒ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐ (๘) พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๒ (๙) ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ ๔๘ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ อ่านต่อ
ปัญหาการใช้กฎหมาย ความจำเป็นที่จะต้องรู้และปฏิบัติตนตามกฎหมาย กฎหมายในประเทศไทยมี่อยู่มากมายปัญหาในการใช้กฏหมาย คือ ควรประกาศให้ชัดเจนว่ามาตราใดยกเลิกหรือมาตราใดยังใช้อยู่ เพื่อไม่ให้ประชาชนสับสนอยู่กับตัวกฏหมายความจำเป็นในการรู้กฏหมายต้อง รู้ให้มากเนื่องจากสังคมในปัจจุบันมีกลโกงมากมายและมักจะมีพวกชอบฉวยโอกาส ที่ใช้ประโยชน์จากช่องว่างของกฏหมายอย่างน้อยเราก็ควรรู้กฏหมายที่ใช้ใน ชีวิตประจำวันการอุดช่องว่างของกฎหมายการอุดช่องว่างของกฎหมาย มี 2 วิธี๑.ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ ให้ใช้หลักเกณฑ์ทั่วไป๒.มีกฎหมายบัญญัติไว้ ให้เป็นไปตามหลักกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กำหนดหลักเกณฑ์ให้นำประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับได้ ถ้ากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติการขัดกันแห่งกฎหมาย กำหนดให้ใช้กฎหมายทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคลอุดช่องว่างประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดหลักเกณฑ์ว่าถ้าไม่มีบทกฎหมายที่จะแยกมาปรับแก่คดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามครรลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น ถ้าไม่มีจารีตประเพณีให้วินิจฉัยคดีเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงกันอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายนั้นก็ไม้มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไปการตีความ การตีความมี 2 กรณีหลักการตีความในกฎหมายทั่วไปตีความตามตัวอักษร คือ การหยั่งทราบความหมายของตัวอักษรนั้นตีความตามเจตนารมณ์ คือ การหยั่งทราบความหมายของถ้อยคำ ในบทกฎหมายจากเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของกฎหมายนั้นหลักการตีความ ในกฎหมายพิเศษต้องตีความตัวอักษรโดยเคร่งครัดห้ามขยายความให้เป็นโทษต้องตีความให้ผลดีแก่ผู้ต้องหาการใช้กฎหมายกฎหมายใช้กับใครใช้กับทุกคนที่อาศัยอยู่ในรัฐนั้นกฎหมายใช้ที่ไหนใช้ในราชอาณาจักรราชอาณาจักร ได้แก่๑. ส่วนของประเทศที่เป็นพื้นดิน แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง บาง๒. ส่วนของทะเลอันเป็นอ่าวไทย และส่วนที่ห่างออกจากชายฝั่ง ๒๐๐ ไมล์ทะเล๓. พื้นอากาศ เหนือ ข้อ ๑ และ ๒สำหรับ การกระทำความผิดบนอากาศยานไทย และเรือไทย ไม่่ว่าจะอยู่ที่ไหน ให้ถือว่ากระทำความผิดในราชอาณาจักรไทย และจะถูกลงโทษโดย กฎหมายไทยกฎหมายใช้เมื่อไรใช้ตั้งแต่กำหนดให้มีผลบังคับใช้ การกำหนดให้กฎหมายมีผลบังคับใช้นั้น ก็จะมีหลายลักษณะ เช่น๑. บังคับใช้ทันทีในวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา๒. มีผลบังคับในวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา๓. มีผลบังคับเมื่อพ้นระยะเวลา ที่กำหนดเอาไว้ในกฎหมายนั้น ๆ เช่น เมื่อพ้นกำหนด ๓๐ วันแล้ว จึงมีผลบังคับใช้ โดยทั่วไปจะเป็นกฎหมายที่ต้องการให้เ้จ้าหน้าที่ และประชาชน ได้เตรียมตัวเพื่ออยู่ภายใต้การบังคับของกฎหมายดังกล่าว ยกตัวอย่างเช่น กฎหมายให้ประชาชนสวมหมวกนิรภัย ต้องให้เวลาเพื่อบริษัทสามารถผลิต และประชาชน จะได้ซื้อหาหมวกให้ได้ทั่วถึงเสียก่อน จึงจะบังคับใช้กฎหมายการยกเลิกกฎหมายโดยทั่วไปการยกเลิกกฎหมาย จะมี 2 ลักษณะ คือ1. ยกเลิกโดยตรง2. ยกเลิกโดยปริยายการ ยกเลิกโดยตรง คือ การระบุยกเลิกกฎหมายนั้น ๆ ไว้ในกฎหมายฉบับที่ออกมาใช้บังคับใหม่ เป็นลักษณะการออกกฎหมายใหม่มายกเลิกกฎหมายเก่านั่นเองส่วนการยกเลิกโดย ปริยาย คือ การที่กฎหมายฉบับนั้น ๆ เลิกบังคับใช้ไปเอง โดยที่ไม่ต้องมีกฎหมายฉบับใหม่ออกมา ระบุหรือบัญญัติให้ยกเลิกแต่ประการใดนั่น คือ กฎหมายฉบับดังกล่าว อาจมีกำหนดระยะเวลาในการบังคับใช้เอาไว้ในตัวมันเอง ดังนั้นเมื่อหมดระยะเวลาตามที่ระบุ ก็ถือว่ากฎหมายถูกยกเลิกไปเองโดยปริยาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น